วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

"หน่วยกิต" เป็นการให้ค่าน้ำหนักแก่รายวิชาต่างๆ
6.2.1  การศึกษาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
6.2.2 การศึกษาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกทดลอง 2 หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือตั้งแต่ 30 ถึง 45 ชั่วโมงตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

6.2.3 การฝึกงานหรือฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึก 3 ถึง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือตั้งแต่ 45 ถึง 90 ชั่วโมงตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
อัตราส่วน หมายถึง การเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณ ซึ่งอาจมี หน่วยเดียวกันหรือหน่วยต่างกันก็ได้ อัตราส่วนของปริมาณ a ต่อปริมาณ b เขียนแทนด้วย a : b หรือ เรียก a ว่าจำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน และเรียกb ว่าจำนวน
ในการเขียนอัตราส่วน อัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสอง ปริมาณที่มีหน่วยเดียวกันและมีความชัดเจนว่าเป็นหน่วยของสิ่งใด เช่น น้ำหนัก หรือ ปริมาตร เราไม่นิยมเขียนหน่วยกำกับไว้ เช่น อัตราส่วนของน้ำหนักหญ้าสดต่อน้ำหนักมูลไก่ เป็น 50 : 5 หรือ อัตราส่วนของปริมาณหญ้าสดต่อปริมาณมูลไก่โดยน้ำหนักเป็น 50 : 5 ถ้าเป็นอัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณที่มีหน่วยต่างกัน เราจะเขียนหน่วยกำกับไว้ เช่น อัตราส่วนของจำนวนไข่เป็นฟองต่อราคาเป็นบาท เป็น 10 : 22
มาตราส่วน
มาตราส่วน ( SCALE ) หมายถึง อัตราที่ใช้ย่อหรือขยายส่วน
เราจะใช้มาตราส่วนเปรียบเทียบขนาดและปริมาณของสิ่งของเช่นเดียวกับอัตราส่วนนั่นเอง
มาตราส่วนที่ใช้ย่อหรือขยายขนาดของสิ่งของ  ถ้าเป็นหน่วยเดียวกันไม่ต้องเขียนหน่วยกำกับไว้ แต่ถ้าเป็นคนละหน่วยกันต้องเขียนหน่วยกำกับไว้
มาตราส่วน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1.  มาตราส่วนย่อ  ( BRIEF SCALE ) เช่น 1 : 10 อ่านว่า  หนึ่งต่อสอบ  หมายถึง ของจริง 10 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
2.  มาตราส่วนขยาย ( EXTENDED SCALE ) เช่น 10 : 1 อ่านว่า  สิบต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 10 ส่วน

3.  มาตราส่วนเท่าของจริง ( FULL SCALE ) เช่น 1 : 1 อ่านว่า  หนึ่งต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
ทักษะการใช้กระดานดำ
กระดาน ดำหรือกระดานชอล์ก เป็นสื่อการสอนที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสอนในทุกระดับชั้น โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ห้องเรียนยังจำเป็นต้องมีกระดานดำ แม้ว่าเทคโนโลยีทางการสอน นวัตกรรมทางการศึกษาจะพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไรก็ตาม ผู้สอนก็ยังจำเป็นต้องใช้กระดานดำประกอบการสอนอยู่เสมอ ทักษะการใช้กระดานดำจึงจำเป็นสำหรับครูผู้สอน ครูที่มีประสิทธิภาพจะมีความสามารถในการใช้กระดานดำช่วยสื่อความหมาย และเสริมความเข้าใจในบทเรียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างดี ผู้สอนจึงต้องใช้กระดานดำให้ถูกต้องตามหลักการ และใช้ให้คุ้มค่า โดยอาจใช้วาดภาพใช้ติดตามแผนภูมิ ใช้ฝึกการเขียนของผู้เรียน ฯลฯ เป็นต้น
หลักการใช้กระดานดำ
การใช้กระดานดำต้องใช้อย่างมีหลักการ ดังนี้
1. เลือกเขียนเฉพาะหัวข้อและใจความสำคัญ ไม่ควรเขียนให้มากและแน่นเกินไป
2. กระดานดำที่มีความยาวมากๆ ควรขีดเส้นแบ่งเป็นสองหรือสามส่วนตามความเหมาะสม
3. ควรเริ่มเขียนจากด้านบนซ้ายของกระดานดำไปทางขวา
4. สิ่งที่เขียนหรือหแสดงบนกระดานดำ ควรเป็นข้อความสั้นๆ กะทัดรัดและเข้าใจง่าย
5. ตัวอักษรควรใหญ่พอที่นักเรียนจะมาองเห็นได้ชัดเจนทั้งชั้น และควรเน้นจุดสำคัญโดยการใช้ชอล์กสีหรือการขีดเส้นใต้
6. เมื่อเขียนกระดานดำเสร็จทุกครั้ง ควรตรวจสอบข้อความที่เขียนบนกระดาน ถ้าเขียนผิดครูควรแก้ไขก่อน ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง
7. ขณะที่อธิบายเรื่องราวบนกระดาน ไม่ควรยืนบังข้อความที่ครูเขียนไว้ ครูควรยืนห่างจากกระดานเล็กน้อย และใช้ไม้ชี้
8. การใช้กระดานดำแต่ละครั้ง ควรได้เตรียมการมาล่วงหน้าว่า จะเขียนข้อความหรือรูปอะไรบ้าง

9. การเขียนรูปทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่จ้องการความถูกต้องแน่นอน ควรใช้เครื่องมือช่วยในการเขียน จะทำให้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น

10. การลบกระดานที่ถูกวิธีต้องลบจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เพื่อนกัน by ทราย


ประวัติส่วนตั๋วส่วนตัว

เค้าชื่อนางสาวศิริวรรณ  ขำพาลี  เพื่อนๆเรียกกันว่า  ยัยนู๋ทราย  กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  คณะครุศาสตร์  สาขาคณิตศาสตร์  เค้าชอบกินต้มยำกุ้ง  ที่พำพักอาศัย บ้านเลขที่ 9 หมู่ 4  ตำบลบางรูป  อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ถ้าอยากรู้จักก็เข้ามาทักทายกันได้นะคะ