วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

"หน่วยกิต" เป็นการให้ค่าน้ำหนักแก่รายวิชาต่างๆ
6.2.1  การศึกษาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
6.2.2 การศึกษาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกทดลอง 2 หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือตั้งแต่ 30 ถึง 45 ชั่วโมงตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

6.2.3 การฝึกงานหรือฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึก 3 ถึง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือตั้งแต่ 45 ถึง 90 ชั่วโมงตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
อัตราส่วน หมายถึง การเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณ ซึ่งอาจมี หน่วยเดียวกันหรือหน่วยต่างกันก็ได้ อัตราส่วนของปริมาณ a ต่อปริมาณ b เขียนแทนด้วย a : b หรือ เรียก a ว่าจำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน และเรียกb ว่าจำนวน
ในการเขียนอัตราส่วน อัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสอง ปริมาณที่มีหน่วยเดียวกันและมีความชัดเจนว่าเป็นหน่วยของสิ่งใด เช่น น้ำหนัก หรือ ปริมาตร เราไม่นิยมเขียนหน่วยกำกับไว้ เช่น อัตราส่วนของน้ำหนักหญ้าสดต่อน้ำหนักมูลไก่ เป็น 50 : 5 หรือ อัตราส่วนของปริมาณหญ้าสดต่อปริมาณมูลไก่โดยน้ำหนักเป็น 50 : 5 ถ้าเป็นอัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณที่มีหน่วยต่างกัน เราจะเขียนหน่วยกำกับไว้ เช่น อัตราส่วนของจำนวนไข่เป็นฟองต่อราคาเป็นบาท เป็น 10 : 22
มาตราส่วน
มาตราส่วน ( SCALE ) หมายถึง อัตราที่ใช้ย่อหรือขยายส่วน
เราจะใช้มาตราส่วนเปรียบเทียบขนาดและปริมาณของสิ่งของเช่นเดียวกับอัตราส่วนนั่นเอง
มาตราส่วนที่ใช้ย่อหรือขยายขนาดของสิ่งของ  ถ้าเป็นหน่วยเดียวกันไม่ต้องเขียนหน่วยกำกับไว้ แต่ถ้าเป็นคนละหน่วยกันต้องเขียนหน่วยกำกับไว้
มาตราส่วน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1.  มาตราส่วนย่อ  ( BRIEF SCALE ) เช่น 1 : 10 อ่านว่า  หนึ่งต่อสอบ  หมายถึง ของจริง 10 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
2.  มาตราส่วนขยาย ( EXTENDED SCALE ) เช่น 10 : 1 อ่านว่า  สิบต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 10 ส่วน

3.  มาตราส่วนเท่าของจริง ( FULL SCALE ) เช่น 1 : 1 อ่านว่า  หนึ่งต่อหนึ่ง  หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
ทักษะการใช้กระดานดำ
กระดาน ดำหรือกระดานชอล์ก เป็นสื่อการสอนที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสอนในทุกระดับชั้น โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ห้องเรียนยังจำเป็นต้องมีกระดานดำ แม้ว่าเทคโนโลยีทางการสอน นวัตกรรมทางการศึกษาจะพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไรก็ตาม ผู้สอนก็ยังจำเป็นต้องใช้กระดานดำประกอบการสอนอยู่เสมอ ทักษะการใช้กระดานดำจึงจำเป็นสำหรับครูผู้สอน ครูที่มีประสิทธิภาพจะมีความสามารถในการใช้กระดานดำช่วยสื่อความหมาย และเสริมความเข้าใจในบทเรียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างดี ผู้สอนจึงต้องใช้กระดานดำให้ถูกต้องตามหลักการ และใช้ให้คุ้มค่า โดยอาจใช้วาดภาพใช้ติดตามแผนภูมิ ใช้ฝึกการเขียนของผู้เรียน ฯลฯ เป็นต้น
หลักการใช้กระดานดำ
การใช้กระดานดำต้องใช้อย่างมีหลักการ ดังนี้
1. เลือกเขียนเฉพาะหัวข้อและใจความสำคัญ ไม่ควรเขียนให้มากและแน่นเกินไป
2. กระดานดำที่มีความยาวมากๆ ควรขีดเส้นแบ่งเป็นสองหรือสามส่วนตามความเหมาะสม
3. ควรเริ่มเขียนจากด้านบนซ้ายของกระดานดำไปทางขวา
4. สิ่งที่เขียนหรือหแสดงบนกระดานดำ ควรเป็นข้อความสั้นๆ กะทัดรัดและเข้าใจง่าย
5. ตัวอักษรควรใหญ่พอที่นักเรียนจะมาองเห็นได้ชัดเจนทั้งชั้น และควรเน้นจุดสำคัญโดยการใช้ชอล์กสีหรือการขีดเส้นใต้
6. เมื่อเขียนกระดานดำเสร็จทุกครั้ง ควรตรวจสอบข้อความที่เขียนบนกระดาน ถ้าเขียนผิดครูควรแก้ไขก่อน ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง
7. ขณะที่อธิบายเรื่องราวบนกระดาน ไม่ควรยืนบังข้อความที่ครูเขียนไว้ ครูควรยืนห่างจากกระดานเล็กน้อย และใช้ไม้ชี้
8. การใช้กระดานดำแต่ละครั้ง ควรได้เตรียมการมาล่วงหน้าว่า จะเขียนข้อความหรือรูปอะไรบ้าง

9. การเขียนรูปทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่จ้องการความถูกต้องแน่นอน ควรใช้เครื่องมือช่วยในการเขียน จะทำให้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น

10. การลบกระดานที่ถูกวิธีต้องลบจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง